ia

.......หมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน

หมวดผลิตสัตว์ผสมผสานเป็นหมวดงานฟาร์มที่ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของฟาร์มผสมผสานการผลิตเกื้อกูลกัน ทั้งในส่วนของสัตว์บก ปลา และพืช โดยดำเนินการเลี้ยงโคพื้นเมืองแทะเล็มหญ้าตามขอบบ่อ และพื้นที่ว่างเปล่าระหว่างแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำให้เปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์ การเลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อบนบ่อปลา เปลี่ยนเศษอาหารและมูลสัตว์กลายเป็นผลผลิตเนื้อปลาโดยผ่าน plankton เป็นตัวอย่างของกิจกรรมการเกษตรที่มีต้นทุนต่ำกระจายความเสี่ยง มีความเกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม ตลอดจนช่วยรักษาสภาพแวดล้อมหมวดผลิตสัตว์ที่พื้นที่ประมาณ 56 ไร่ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 5 ไร่

จำนวนสัตว์ปัจจุบัน (สำรวจเมื่อ 1 ต.ค. 50)

กิจกรรม

จำนวน

เป้าหมาย

1. โคพื้นเมือง

14

21

2. สุกรขุน

40

40

3. ไก่ไข่บนบ่อปลา1

(องค์กรในกำกับขอใช้พื้นที่)

-

4. ไก่ไข่บนบ่อปลา 2

(องค์กรในกำกับขอใช้พื้นที่)

-

5. ไก่เนื้อบนบ่อปลา

(โครงการวิจัยขอใช้พื้นที่)

-

6. ไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว*

20

100

7.บ่อปลา

15 ไร่

15 ไร่

8.ผักปลอดสาร

-

400 ตร.ม.

 

พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

พื้นที่ทั้งหมด                                          68 ไร่   
- แหล่งน้ำ                                                   8 ไร่
- อาคารทดลอง                                           2 ไร่
- พื้นที่งานทดลองและสาธิต                      43 ไร่
- พื้นที่ชุ่มน้ำ                                               5 ไร่
ในส่วนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตลอดจนการบริการวิชาการด้านการเป็นต้นแบบสาธิตต่างๆนั้น ทางหมวดผสมผสานต้องใช้พื้นที่ 68 ไร่ โคพืนเมือง 21 ตัว สุกรบนบ่อปลา 40 ตัว ไก่ไข่บนบ่อปลา 1,000 ตัว และปลา 60,000 ตัว

หมวดผลิตสัตว์ผสมผสานมีพื้นที่รวมกันทั้งหมดประมาณ 70 ไร่ มีบ่อขนาด 4 ไร่ 1 บ่อ ทำการผสมผสานกับเป็ด บ่อขนาด 6 ไร่ 1 บ่อ ทำการผสมผสานกับสุกร บ่อขนาด 2,000 ตร. ม. 4 บ่อ ทำการผสมผสานกับไก่เนื้อและไก่ไข่บนคันบ่อ และไก่ไข่บนบ่อปลาในบ่อขนาด 2,000 ตร.ม. จำนวน 1 บ่อ นอกจากนี้ยังมีบ่อปลาทดลองขนาด 400 ตร.ม. จำนวน 14 บ่อ และแปลงหญ้าเลี้ยงโค พื้นที่ 6 ไร่ อนึ่งในพื้นที่หมวดมีทรัพยากรธรรมชาติ คือ หญ้าเป็นจำนวนมาก จึงได้นำโคเนื้อพื้นเมืองเพศผู้ จำนวน 5 ตัวมาเลี้ยง หมวดผลิตสัตว์ยังมีคอกไก่ระบบเปิดบนพื้นดิน จำนวน 2 โรงเรือน และมีแปลงมะม่วงประมาณ 2 ไร่


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานด้านการผลิตสัตว์ผสมผสานพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการผลิตสัตว์ผสมผสาน การเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีกบนบ่อปลา การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และทำการประมงร่วมกัน

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตสัตว์ผสมผสานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ภาควิชาสัตวศาสตร์จำนวน 75 คนโดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการคำนวณการแบ่งสัดส่วนในการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช และการประมงเพื่อการจัดการผลิตสัตว์ผสมผสานอย่างมีประสิทธิภาพ

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 2 รายวิชา

ได้แก่ 117 101 การผลิตสัตว์เบื้องต้น นักศึกษา 420 คน และระดับปริญญาโท 1 รายวิชา ได้แก่ 127700 การผลิตสัตว์ผสมผสาน

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

หมวดผลิตสัตว์ให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อทางด้านการแก้ปัญหาการผลิตสัตว์ผสมผสาน การผลิตสัตว์บนบ่อปลา กิจกรรมนักศึกษาเพื่อเสริมทักษะการผลิตและดูแลสัตว์ เป็นต้น

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 3 คน, ปริญญาเอก จำนวน1คน


ภารกิจด้านการวิจัย

งานวิจัยด้านการผลิตสัตว์ผสมผสานและปศุสัตว์อินทรีย์

งานวิจัยด้านการผลิตสัตว์ผสมผสาน การวิเคราะห์ด้านต้นทุนและประสิทธิภาพการผลิตของการเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีกบนบ่อปลา การเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศ และการเลี้ยงโรงเรือนปกติ และมีการวิจัยด้านการผลิตสัตว์อินทรีย์ เช่นไก่ไข่อินทรีย์ โคอินทรีย์ และสุกรในแปลงหญ้า

งานวิจัยด้านการผลิตสัตว์พื้นเมือง

หมวดผลิตสัตว์มีส่วนในงานวิจัยการพัฒนาพันธุ์ไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สกว.-มหาวิทยาลัยขอนแก่น-มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญการคัดเลือกโคพื้นเมือง และอื่นๆ


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร

หมวดผลิตสัตว์มีการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในหลายด้าน เช่น การผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ การผลิตไข่อินทรีย์ การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา การผลิตสัตว์ผสมผสาน การเลี้ยงไก่พื้นเืมือง โดยมีการจัดอบรมอย่างน้อย 1-2 รุ่นต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 20-30 คน

การสาธิตเทคโนโลยีและกระบวนการต้นแบบ

หมวดผลิตสัตว์ผสมผสานให้บริการด้านเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการปศุสัตว์อินทรีย์ให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการนำของผู้นำท้องถิ่น (อบต) นักวิจัยจากประเทศในกลุ่มอินโดจีน ภูฐาน และผู้สนใจอื่นๆไม่ต่ำกว่า 100 คนต่อปี ได้แก่การผลิตไข่อินทรีย์ โคอินทรีย์ และต้นแบบจัดการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง แบบผสมผสาน และเกษตรทฤษฏีใหม่ และการจัดการปศุสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น


แนวทางการพัฒนา

1. โครงการเกษตรแบบผสมผสาน การเลี้ยงเป็ดร่วมกับการเลี้ยงปลา 2. โครงการเกษตรแบบผสมผสาน การเลี้ยงสุกรร่วมกับการเลี้ยงปลา 3. โครงการเกษตรแบบผสมผสาน การเลี้ยงไก่เนื้อร่วมกับการเลี้ยงปลา 4. โครงการเกษตรแบบผสมผสาน 5. การเลี้ยงไก่ไข่ร่วมกับการเลี้ยงปลา 6. การ เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมืองเพศผู้หย่านม จำนวน 10 ตัว เพื่อใช้หญ้าในหมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน 7. โครงการปลูกพืชอินทรีย์ในพื้นที่ 2 ไร่


แผนที่หมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน

ดูรายละเอัียดแผนที่หมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน >> คลิ้กที่นี่


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปี 2550 หมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2548-2550
  • ให้บริการปฏิบัติการในรายวิชา 117 101 Principle of animal production จำนวน 151 คน
  • ให้บริการฝึกงานในรายวิชา 117 283 Practicum III จำนวน 345 คน
  • ให้บริการฝึกงานในรายวิชา 117 384 Practicum IV จำนวน 34 คน
  • ให้บริการปฏิบัติการในรายวิชา 127 700 Integrated animal production in farming systems

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2551
  • โครงการการพัฒนาฝูงพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำและชีด้วยดัชนีการคัดเลือก (รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา)
  • โครงการการแช่แข็งและย้ายฝากตัวอ่อนที่ผ่านการคัดเพศในโคพื้นเมือง (รศ.ดร.เทวินทร์ วงษ์พระลับ)
  • โครงการการผลิตตัวอ่อนโคพื้นเมืองไทยภายนอกร่างกายโดยเทคนิคการเจาะดูดไข่จากแม่โค
  • วิทยานิพนธ์และปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 3 คน 1. นายการันต์ กรรณิการ์ 2. นางสาวพรจิต สอนสีดา 3. นางสาววิชชุดา ยินดี
  • 2549-2550
  • โครงการการพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง และการผสมเทียมในไก่พื้นเมือง (รศ.ดร.เทวินทร์ วงศ์พระลับ)
  • โครงการทดสอบสมรรถนะการเจริญเติบโตและความนุ่มเนื้อในไก่ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์พื้นเมืองไทยกับแม่พันทางการค้า (รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา)
  • โครงการการพัฒนาฝูงพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำและชีด้วยดัชนีการคัดเลือก (รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา)
  • 2548
  • ให้บริการแก่คณาจารย์ ข้าราชการและนักศึกษาในการใช้สถานที่ในการทำวิจัย ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์้
  • โครงการเกษตรผสมผสาน ของ รศ.บัญญัติ เหล่าไพบูลย์
  • โครงการการศึกษาวิธีทำน้ำเชื้อแช่แข็งไก่พื้นเมือง ของรศ.ดร.เทวินทร์ วงศ์พระลับ
  • โครงการการเสริมพลาสม่าโปรตีนในไก่กระทง ของรศ.ดร.สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2548-2550
  • ให้ความอนุเคราะห์การดูงานจากคณะนักเรียน นักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรวมถึงเกษตรกรที่สนใจเข้าเยี่ยมชมตลอดปี